บริบท ของ บนอินเทอร์เน็ต ไม่มีใครรู้ว่าคุณเป็นหมา

การ์ตูนภาพนี้สร้างช่วงเวลาที่น่าจดจำในประวัติศาสตร์ของอินเทอร์เน็ต ในช่วงก่อนหน้านั้น มีเพียงแค่วิศวกรและอาจารย์มหาวิทยาลัยของรัฐเท่านั้นที่ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นส่วนใหญ่ แต่ช่วงที่การ์ตูนภาพนี้ออกมาเป็นจุดเปลี่ยน โดยอินเทอร์เน็ตได้กลายมาเป็นหัวข้ออภิปรายในนิตยสารเกี่ยวกับความสนใจทั่วไปอย่าง เดอะนิวยอร์กเกอร์ มิตช์ เคเพอร์ ผู้ก่อตั้งโลตัสซอฟต์แวร์และนักกิจกรรมอินเทอร์เน็ตยุคแรก ให้ความเห็นในบทความหนึ่งในนิตยสารไทม์ เมื่อปี 2536 ว่า "สัญลักษณ์ที่แท้จริงที่บอกว่าความสนใจที่เป็นที่นิยมได้ถึงระดับมวลชนมาถึงแล้วในฤดูร้อนนี้ เมื่อเดอะนิวยอร์กเกอร์พิมพ์ภาพการ์ตูนที่แสดงสัตว์มีเขี้ยวสองตัวที่ชำนาญคอมพิวเตอร์"[7]

การ์ตูนดังกล่าวแสดงถึงความเข้าใจในความเป็นส่วนตัวในอินเทอร์เน็ตที่ให้ความสำคัญกับความสามารถที่ผู้ใช้จะรับหรือส่งข้อความแบบไม่ระบุตัวตน ลอเรนซ์ เลสซิก แนะว่า "ไม่มีใครรู้"เพราะชุดโพรโทคอลอินเทอร์เน็ตไม่ได้บังคับให้ผู้ใช้ระบุตัวตน แม้ว่าการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตภายในพื้นที่ เช่น ในมหาวิทยาลัยของผู้ใช้อาจจะบังคับก็ตาม แต่การเข้าถึงก็จะเก็บสารสนเทศนี้ไว้เป็นส่วนตัว และไม่ได้เป็นเนื้อแท้ของธุรกรรมอินเทอร์เน็ตแต่อย่างใด[8]

จากการศึกษาจองโมราฮาน-มาร์ติน และชูมาเชอร์ (2543) ในหัวข้ออภิปรายเรื่อง การใช้อินเทอร์เน็ตที่เป็นปัญหาหรือถูกบังคับ แนะว่าการแสดงตนเองจากหลังหน้าจอคอมพิวเตอร์อาจเป็นส่วนหนึ่งของแรงกดดันทางใจที่จะเข้าสู่โลกออนไลน์[9] วลีดังกล่าวอาจหมายความว่า "ไซเบอร์สเปซจะเป็นอิสระเพราะเพศ เชื้อชาติ อายุ หน้าตา หรือแม้แต่ 'ความเป็นสุนัข' จะหายไปหรือถูกประดิษฐ์เปลี่ยนแปลงหรือทำให้เกินจริงจากความสร้างสรรค์แบบมิได้ยับยั้ง โดยมีจุดประสงค์มากมายทั้งที่ถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย" จากความเข้าใจที่สะท้อนออกมาเป็นคำกล่าวของจอห์น กิลมอร์ บุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ของยูซเน็ต[10] วลีดังกล่าวยังแนะให้เห็น "การปลอมตัวผ่านคอมพิวเตอร์" (computer cross-dress) และแสดงให้เห็นว่าเขามีเพศ อายุ เชื้อชาติ ฯลฯ ที่แตกต่างไปจากเดิม[11] ในอีกนัยหนึ่ง "อิสรภาพที่สุนัขเลือกที่จะใช้ประโยชน์ คืออิสรภาพที่จะ 'เปลี่ยนแปลง' เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มที่มีอภิสิทธิ์กลุ่มหนึ่ง เช่น ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ที่เป็นมนุษย์กับการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต"[11][12]

บ็อบ มอนคอฟฟ์ บรรณาธิการการ์ตูนจากหนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กเกอร์ กล่าวว่า "การ์ตูนดังกล่าวสะท้อนความระมัดระวังเรื่องหลอกลวงที่อาจกุขึ้นจากผู้ที่มีความรู้เรื่องเอชทีเอ็มแอลเพียงขั้นแรกเริ่ม"[13]

แหล่งที่มา

WikiPedia: บนอินเทอร์เน็ต ไม่มีใครรู้ว่าคุณเป็นหมา http://www.alandavidperkins.com/nkiad/ http://www.brownsguides.com/covers/january-2011/ http://www.cartoonbank.com/item/22230 http://www.mactech.com/articles/mactech/Vol.12/12.... http://query.nytimes.com/gst/fullpage.html?res=9F0... http://www.nytimes.com/2000/12/14/technology/14DOG... http://www.plsteiner.com/ http://www.time.com/time/magazine/article/0,9171,9... http://newyorker.tumblr.com/post/111446912131/a-ca... http://www.washingtonpost.com/blogs/comic-riffs/po...